Archive for the ‘ปัญหาด้านงานฉีดพลาสติกและแนวทางแก้ไข’ Category

ปัญหา้ด้านงานฉีดพลาสติกและแนวทางแก้ไข

ปํญหาฉีดพลาสติก
ลักษณะที่ปรากฎ
สาเหตุ
วิธีแก้ไข
เนื้อพลาสติกไม่สะอาด มีสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีสีเทาเป็นเงา สิ่งแปลกปลอมนั้นถูกชะหลุดมาจากท่อส่งภาชนะและกรวยป้อนเม็ดพลาสติก (hopper) ไม่ควรใช่ท่อส่ง ภาชนะและกรวยป้อนเม็ดพลาสติกที่ทำจากอลูมิเนียม หรือแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
ควรใช้เหล็กแสตนเลส ท่อควรมีความตรงมากที่สุด
เส้นสีดำหรือสีเพี้ยนไป ฝุ่นหรือสิ่งสกปรก รักษาถังอบแห้งให้สะอาด ทำความสะอาดชุดกรองอากาศเสมอ เปิดและปิดถุงหรือภาชนะบรรจุเม็ดพลาสติกอย่างระมัดระวัง
เส้นสีหรือชั้นที่อยู่ใกล้ sprue ซึ่งดูต่างจากเนื้อพลาสติกส่วนใหญ่ มีพลาสติกชนิดอื่นปนอยู่ แยกชนิดของพลาสติก ไม่อบพลาสติกต่างชนิดรวมกัน ทำความสะอาดชุดหลอมพลาสติก
ตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมในอุปกรณ์อื่นหรือไม่
สิ่งแปลกปลอมในเม็ดพลาสิตกที่ได้จากการบดเศษพลาสติก เหมือนกับที่พบในการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ สิ่งแปลกปลอมนั้นถูกขัดสีหลุดมาจากเครื่องบดเศษพลาสติก ตรวจดูเครื่องบดเศษพลาสติกอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาจุดที่มีการรขัดสีและเสียหาย
แล้วซ่อมแซมหากจำเป็น
ฝุ่นหรือสิ่งสกปรก เก็บเศษพลาสติกให้ปลอดจากฝุ่น ทำความสะอาดชิ้นส่วนพลาสติกที่จะนำมาบด ไม่ใช้ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกที่เสื่อมสภาพซึ่งมีความชื้น
(PC, PBT)
มีพลาสติกชนิดอื่นปนอยู่ เก็บพลาสติกต่างชนิดให้แยกจากกัน
เส้นเกิดจากความชื้น (moisture streaks) เส้นรูปตัวยูวางตามยาวในเส้นทางการไหล ความชื้นที่มีอยู่ในเม็ดพลาสติกมากเกินไป ตรวจดูเครื่องอบหรือกรรมวิธีการอบ วัดอุณหภูมิเม็ดพลาสติก พิจารณาความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการอบแห้ง
เส้นสีเทา (grey streaks) แถบสีดำหรือเทาอยู่กระจัดกระจายอย่างไม่เป็นระเบียบ การสึกหรอของชุดหลอมพลาสติก เปลี่ยนชุดหลอมพลาสติกทั้งชุด หรือชิ้นส่วนที่สึกหรอ หรือใช้ชุดหลอมพลาสติกที่มีการเคลือบผิวเพื่อป้องกันการสึกหรอ
และสึกกร่อนทางเคมี
รอยมันเงา (silvery streaks) เป็นเส้นยาวมีความมันเงา น้ำพลาสติกร้อนเกินไปเนื่องจากอุณหภูมิน้ำพลาสติกสูงเกินไป เวลาที่อยู่ในกระบอกฉีดนานเกินไป
หรือเกลียวเคลื่อนที่เร็วเกินไป หัวฉีดและ runner แคบเกินไป
ตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำพลาสติก ใช้เกลียวที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางพอเหมาะ ลดความเร็วของเกลียว
ขยายรูที่หัวฉีดและเส้นผ่าศูนย์กลางของ runner ให้กว้างขึ้น
เส้นซึ่งดักอากาศไว้ เส้นยาวคลุมพื้นที่กว้าง โปร่งใส อาจเห็นเป็นฟองอากาศด้วย อัตราเร็วในการฉีดพลาสติกสูงเกินไป มีฟองอากาศถูกกักเอาไว้ ลดอัตราเร็วในการฉีดพลาสติก
แรงดันต่ำเกินไป เพิ่มแรงดันกลับ
เป็นแนวแคบสีดำหรือเพี้ยนไปอยู่ใกล้เส้นทางการไหล มีการดักอากาศไว้ในคาวิตี้ ปรับปรุงช่องระบายอากาศของแม่พิมพ์ โดยเฉพาะที่ใกล้กับส่วนที่ต่ำกว่า (ครีบ
ปุ่ม ตัวหนังสือ) แก้ไขทางไหลให้ถูกต้อง (ความหนาผนังต่ำแหน่ง gate ส่วนที่ช่วยในการไหล)
สีผิวมัว มีฝุ่นผงหรือเม็ดที่ละเอียดมากปนอยู่ การสึกหรอของชุดหลอมพลาสติก เหมือนข้อที่ผ่านมา
เกิดผิวที่สีมัว ชุดหลอมพลาสติกมีสิ่งสกปรกอยู่ ทำความสะอาดชุดหลอมพลาสติก
มัว มีสีเพี้ยน เกลียวเคลื่นที่เร็วเกินไป ลดอัตราเร็วของเกลียว
ผงสีดำ (black specks) ขนาดเล็กกว่า 1mm2 จนถึงมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ชุดหลอมพลาสติกมีการสึกหรอ เหมือนข้อที่ผ่านมา
ขนาดใหญ่กว่า 1 mm2 ผิวของเกลียวและกระบอกฉีดเกิดการเสียหายและแตกเป็นสะเก็ดหลุดออกมา ทำความสะอาดชุดหลอมพลาสติก ใช้ชุดที่มีการเคลือบผิวเพื่อป้องกันการสึกกร่อนทางเคมี
สำหรับ PC และ PC ผสมให้ตั้งค่าความร้อนที่กระบอกฉีด 160-180 องศาเซลเซียส
ในระหว่างหยุดฉีด
รอยไหม้ (burnt streaks) แถบสีน้ำตาลผิดไปจากสีของชิ้นงาน อุณหภูมิของน้ำพลาสติกสูงเกินไป ตรวจและลดอุณหภูมิน้ำพลาสติก ตรวจชุดควบคุมอุณหภูมิ
น้ำพลาสติกอยู่ในกระบอกฉีดนานเกินไป ลดรอบเวลาการฉีด ใช้ชุดหลอมพลาสติกที่มีขนาดเล็กลง
การกระจายของอุณหภูมิใน hot-runner ไม่เหมาะสม ตรวจอุณหภูมิของ hot-runner ชุดควบคุมอุณหภูมิ และเทอร์โมคับเปิ้ล
แถบสีน้ำตาลเกิดขึ้นทุกระยะเวลาหนึ่ง การสึกหรอของชุดฉีดพลาสติก หรือมีจุดที่อุดตัน ตรวจกระบอกฉีด เกลียว วาล์วกันกลับ และผิวอุดกันรั่ว เพื่อหาส่วนที่สึกหรอและจุดที่อุดตัน
ชิ้นส่วนของชุดหลอมพลาสติก และ hot-runner ไปขวางการไหล ขจัดอุปสรรคของการไหล
อัตราเร็วในการฉีดสูงเกินไป ลดอัตราเร็วในการฉีด
Delamination ผิวที่ใกล้กับ sprue เกิดการลอกเป็นสะเก็ดหลุดออกมา (โดยเฉพาะในพลาสติกผสม) มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้ามาและรวมตัวกับเนื้อพลาสติกไม่ได้ ทำความสะอาดชุดหลอมพลาสติก ตรวจดูวัสดุที่ใช้ไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอม
จุดด้าน (dull-spots) จุดคล้ายกำมะหยี่ที่บริเวณใกล้กับ sprue การไหลของน้ำพลาสติกในระบบ gate ใกล้จุดเปลี่ยนและทางผ่านถูกรบกวน (ผิวพลาสติกชั้นนอกที่แข็งตัวแล้วถูกเฉือนลอกออกไป) ดัดแปลง gate หลีกเลี่ยงขอบคม โดยเฉพาะบริเวณที่ต่อระหว่าง gate กับคาวิตึ้
ทำส่วนโค้งมนที่บริเวณจุดเปลี่ยนใกล้กับ runner และส่วนที่ความหนาของผนังเปลี่ยนอย่างหักมุม
แล้วขัดเงา ฉีดพลาสติกเป็นขั้นตอน ช้า-เร็ว
ร่องวงกลมหรือวงแหวน ร่องที่มีความละเอียดมากบนผิวชิ้นงาน (เช่น PC) หรือวงแหวนสีเทา (เช่น ABS) การไหลมีความต้านทานมากในแม่พิมพ์ จนน้ำพลาสติกหยุดชะงัก อุณหภูมิน้ำพลาสติกและอัตราการฉีดพลาสติกต่ำเกินไป เพิ่มอุณหภูมิของน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์ เพิ่มอัตราเร็วในการฉีดพลาสติก
cold slug เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก ๆ ที่เย็นตัวแล้วถูกดักไว้ในผิวชิ้นงาน อุณหภูมิของหัวฉีดต่ำเกินไป รูที่หัวฉีดเล็กเกินไป ใช้แผ่นให้ความร้อนที่มีกำลังมากขึ้น ติดเทอร์โมคับเปิ้ลและตัวควบคุมที่หัวฉีด
เพิ่มขนาดรูที่หัวฉีด ลดการหล่อเย็นที่ sprue brush เลื่อนหัวฉีดจาก sprue
brush ให้เร็วขึ้น
โพรงและรอยยุบตัว (voids and sink marks) โพรงอากาศกลมหรือยาว มองเห็นได้แต่ในพลาสติกใส การยุบตัวของผิวชิ้นงาน ไม่มีการชดเชยปริมาตรในระหว่างช่วงการหล่อเย็น เพิ่มเวลาการให้แรงดันตาม เพิ่มขนาดแรงดัน ลดอุณหภูมิน้ำพลาสติก และเปลี่ยนอุณหภูมิแม่พิมพ์
(ในกรณีของการเกิดโพรงต้องเพิ่ม และในกรณีของการยุบตัวต้องลด) ตรวจส่วนที่เป็นแอ่งรับน้ำพลาสติก
เพิ่มขนาดรูที่หัวฉีดและ gate
การออกแบบชิ้นงานฉีดพลาสติกไม่ถูกต้อง เช่น มีความแตกต่างของความหนาผนังมากเกินไป ออกแบบชิ้นงานใหม่ เช่น หลีกเลี่ยงส่วนที่มีการเปลี่ยนความหนาของผนังอย่างหักมุม
และส่วนที่มีการสะสมน้ำพลาสติก เลือกขนาดและรูปร่างหน้าตัดของ runner และ gate
ให้เหมาะกับชิ้นงาน
ฟอง (blisters) คล้ายกับ void แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า ความชื้นที่อยู่ในน้ำพลาสติกมีมากเกินไป และมีความชื้นเหลือค้างอยู่ในเม็ดพลาสติก อบเม็ดพลาสติกให้แห้งที่สุด ถ้าจำเป็นให้ใช้เกลียวที่มีการระบายก๊าซแทนที่เกลียวธรรมดา
และใช้พลาสติกที่อบแห้งมาก่อน ตรวจเครื่องอบและกรรมวิธีการอบ และใช้เครื่องที่อบด้วยอากาศแห้งหากจำเป็น
Jetting น้ำพลาสติกซึ่งไหลเข้าไปในคาวิตี้ก่อนจะปรากฎเป็นรอยให้เห็นที่ผิวชิ้นงาน การวางตำแหน่งและขนาดของ gate ไม่เหมาะสม ป้องกันการเกิด jetting โดยย้าย gate ไปไว้ที่อื่น (ฉีดไปชนผนังหรือเพิ่มขนาดของ
gate)
อัตราการฉีดพลาสติกสูงเกินไป ลดอัตราการฉีดพลาสติกหรือฉีดตามขั้นตอน ช้า-เร็ว
อุณหภูมิน้ำพลาสติกต่ำเกินไป เพิ่มอุณหภูมิน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์
ฉีดไม่เต็ม (short-moulding) การไหลเข้าเติมคาวิตี้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะที่ปลายเส้นทางการไหลหรือใกล้จุดที่มีผนังบาง พลาสติกมีการไหลที่ไม่ดีพอ เพิ่มอุณหภูมิน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์
อัตราการฉีดพลาสติกต่ำเกินไป เพิ่มอัตราการฉีดพลาสติกและ/หรือแรงดันฉีด
ชิ้นงานมีผนังบางเกินไป เพิ่มความหนาผนังของชิ้นงาน
หัวฉีดและแม่พิมพ์แนบกันไม่สนิทพอ เพิ่มแรงดันในการสัมผัสของหัวฉีด ตรวจรัศมีความโค้งของหัวฉีด และ sprue bush
ตรวจการร่วมศูนย์ (centering)
เส้นผ่าศูนย์กลางของ gate และ runner เล็กเกินไป เพิ่มขนาดของ gate และ runner
การระบายอากาศของแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ ปรังปรุงการระบายอากาศ
weld strength พลาสติกที่ไหลมาบรรจบกัน มองเห็นเป็นรอยต่อได้อย่างชัดเจน การไหลของพลาสติกไม่ดีพอ เพิ่มอุณหภูมิของน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์ ย้าย gate ไปไว้ที่อื่นถ้าจำเป็นเพื่อปรับปรุงสภาพการไหลให้ดีขึ้น
อัตราการฉีดพลาสติกต่ำเกินไป เพิ่มอัตราการฉีดพลาสติก
ความหนาผนังบางเกินไป เพิ่มความหนาผนังของชิ้นงาน
การระบายอากาศในแม่พิมพ์ไม่เพียงพอ ปรับปรุงการระบายอากาศในแม่พิมพ์
ชิ้นงานเกิดการโค้งงอ (wraped moulding) ชิ้นงานไม่มีความราบตรง มีการบิดและสวมเข้าด้วยกันไม่ได้ ความหนาของผนังแตกต่างกันมาก อัตราการไหลออกภายในแม่พิมพ์มีขนาดต่างกันมากและ
Orientaion ของเส้นใยแก้ว
ออกแบบชิ้นงานใหม่ เปลี่ยนตำแหน่งของ gate
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม ให้ความร้อนแม่พิมพ์ทั้งสองส่วนจนมีอุณหภูมิเท่ากัน
จุดที่มีการเปลี่ยนจากการฉีดเต็มคาวิตี้ไปเป็นการให้แรงดันตามนั้นทำไม่ถูกต้อง แก้ไขจุดเปลี่ยนให้เหมาะสม
ชิ้นงานติดแน่นกับแม่พิมพ์ จุดด้าน เป็นแอ่งรูปร่างคล้ายนิ้วมือหรือใบไม้สี่แฉก มีความมันเงาอยู่บนผิวชิ้นงาน
(โดยทั่วไปอยู่ใกล้ sprue)
ผนังคาวิตี้บางส่วนมีความสูงเกินไป ลดอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ปรับปรุงการควบคุมอุณหภูมิของแม่พิมพ์ในบริเวณที่เกิดปัญหา
ปลดชิ้นงานเร็วเกินไป เพิ่มรอบเวลาการฉีด
ปลดชิ้นงานไม่ได้ หรือชิ้นงานเสียรูปเมื่อปลด ชิ้นงานติดขัดเมื่อจะทำการปลดหรือถูกกระทุ้งจนทะลุ แม่พิมพ์รับแรงเกิน มี undercut เล็กเกินไป การขัดเงาคาวิตี้ทำได้ไม่ดีพอในผิวส่วนที่เป็นปีก
ครีบ และปุ่ม
ลดอัตราการฉีดพลาสติกและแรงดันตาม ไม่ให้มี undercut ขัดผิวของคาวิตี้ให้ดีขึ้น
และทำการขัดเงาในทิศทางตามยาว
เกิดสูญญากาศขึ้นระหว่างชิ้นงานกับแม่พิมพ์ ในตอนปลดชิ้นงาน ปรับปรุงการระบายอากาศ
มุมลาดเอียงเล็กเกินไป เพิ่มขนาดมุมลาดเอียง (draft angle)
แม่พิมพ์เกิดการยุบตัวและคอร์มีการขยับแนื่องจากแรงดันฉีด เพิ่มความแข็งแรง (stiffness ของแม่พิมพ์ และจับยึดคอร์ให้เหมาะสม
ปลดชิ้นงานเร็วเกินไป เพิ่มรอบเวลาในการฉีด
เกิดครีบแลบ (flash) น้ำพลาสติกซึมเข้าไปในช่องว่างของแม่พิมพ์ เช่นที่ผิวประกบแม่พิมพ์
(Parting Surface)
แรงดันในคาวิตี้สูงเกินไป ลดอัตราการฉีดและแรงดันตาม เลื่อนจุดที่เปลี่ยนจากช่วงฉีดไปเป็นช่วงให้แรงดันตาม
ให้ไปข้างหน้า
ผิวประกบแม่พิมพ์เสียหายเนื่องจากเกิด over packing ทำการปาด และเจียระไนผิวประกบแม่พิมพ์ใหม่
การประกบหรือยึดแม่พิมพ์ทำไม่ดีพอ เพิ่มแรงประกบแม่พิมพ์หรือใช้เครื่องฉีดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกขั้นหนึ่ง
ผิวชิ้นงานหยาบและด้าน (เกิดกับเทอร์โมพลาสติกที่เสริมใยแก้ว) อุณหภูมิน้ำพลาสติกต่ำเกินไป เพิ่มอุณหภูมิของน้ำพลาสติก
แม่พิมพ์เย็นเกินไป เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ติดแผ่นฉนวนกันความร้อนไว้ที่แม่พิมพ์ ใช้ชุดให้ความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น